วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

สัปดาห์ที่ 1 กศน.ตำบลโนนห้อม

งานสปดาห์ที่ 1
1.ให้นักศึกษาเขียนวิเคราะห์ตนเองโดยใช้กระบวนการมายแม็บ




กรต.
2.ให้นักศึกษา ย่อความบทที่ 1วิชาวิทยาศาสตร์มาส่งในสัปดาห์หน้า

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 4 ม.ต้น


สัปดาห์ที่ 4 ม.ต้น


รายวิชา  การพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม  ครั้งที่ 3 เนื้อหาที่จัดการเรียนรู้ หลักการพัฒนาชุมชน/สังคม
วันที่ ....15...... เดือน...พฤศจิกายน.....พ.ศ. 255สถานที่..................................................

สาระสำคัญ
         หลักการพัฒนาชุมชน/สังคม วิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดแนวทางการพัฒนาตนเอง ครอบครัวชุมชน/สังคม ให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ปัจจุบัน        

จุดประสงค์การเรียนรู้
          1. อธิบายวิธีการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูล
2. วิเคราะห์ข้อมูลตนเอง ครอบครัว ชุมชน/สังคมด้วยเทคนิค และวิธีการที่หลากหลาย
3. นำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการจัดทำแผนชีวิต ชุมชน/สังคม
4. นำเสนอข้อมูลตนเอง ครอบครัว ชุมชน/สังคม ในรูปแบบต่างๆ  
5. เกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาตนเอง ครอบครัวชุมชน/สังคม
6. จูงใจให้สมาชิกของชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนชีวิตและแผนชุมชน/สังคมได้
7. อธิบายขั้นตอนการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผน
             - การจัดทำเวทีประชาคม
   - การประชุมกลุ่มย่อย
   - การสัมมนา
             - การสำรวจประชามติ
             - การประชาพิจารณ์
8. นำเทคนิคการมีส่วนร่วมไปใช้ในการจัดทำแผนได้อย่างเหมาะสม
9. นำผลที่ได้จากการวางแผนเผยแพร่สู่การปฏิบัติ โดยการเขียนการรายงาน การเขียนโครงการ
    การประชาสัมพันธ์ ฯลฯ
10. อธิบายบทบาท หน้าที่ของผู้นำสมาชิกที่ดีของชุมชน สังคม
11. บอกแนวทางในการดำเนินการเพื่อนำไปสู่การทำแผนชีวิต ครอบครัว ชุมชน สังคม ของผู้นำและผู้ตาม
12.เป็นบทบาทของผู้นำ ผู้ตามในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม
13. รู้และเข้าใจแนวโน้มการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
14. รู้และเข้าใจศักยภาพของประเทศไทย
15. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพของประเทศไทย เพื่อนำไปสู่อาชีพในชุมชนและสังคมได้

เนื้อหา
1.อธิบายวิธีการจัดเก็บ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย และเผยแพร่ข้อมูล
2. การมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม
3. เทคนิคการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผน เช่น
   - การจัดทำเวทีประชาคม
   - การประชุมกลุ่มย่อย
   - การสัมมนา
   - การสำรวจประชามติ

   - การประชาพิจารณ์






แบบทดสอบหลังเรียน


สัปดาห์ที่ 4 ม.ปลาย


สัปดาห์ที่ 4 ม.ปลาย



แบบทดสอบ ก่อนเรียน
แผนการจัดการเรียนรู้
รายวิชา  การพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม สค31003  จำนวน 1 หน่วยกิจ
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 
*******************************
1. ครั้งที่  2 วันที่    8 พ.ย. 2558                                                            จำนวน 3  ชั่วโมง
2. มาตรฐานที่ 5.4    : มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของหลักการพัฒนา  และสามรถพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม
3. หน่วยการเรียนรู้/เรื่อง  หลักการพัฒนาชุมชน/สังคม
4. สาระสำคัญ
หลักการพัฒนาชุมชน/สังคม วิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดแนวทางการพัฒนาตนเอง ครอบครัวชุมชน/สังคม ให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ปัจจุบัน
5. เนื้อหา
5.1 วิธีการจัดเก็บ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย และเผยแพร่ข้อมูล
5.2 การมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม
          5.3 เทคนิคการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผน /การจัดทำแผน /การเผยแพร่สู่การปฏิบัติ
          5.4 การพัฒนาอาชีพในชุมชนและสังคม
6. จุดประสงค์การเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
6.1 อธิบายวิธีการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูล
6.2 วิเคราะห์ข้อมูลตนเอง ครอบครัว ชุมชน/สังคมด้วยเทคนิค และวิธีการที่หลากหลาย
6.3 นำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการจัดทำแผนชีวิต ชุมชน/สังคม
6.4 นำเสนอข้อมูลตนเอง ครอบครัว ชุมชน/สังคม ในรูปแบบต่างๆ 
6.5 เกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาตนเอง ครอบครัวชุมชน/สังคม
6.6 จูงใจให้สมาชิกของชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนชีวิตและแผนชุมชน/สังคมได้
6.7 อธิบายขั้นตอนการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผน
6.8 นำเทคนิคการมีส่วนร่วมไปใช้ในการจัดทำแผนได้อย่างเหมาะสม
6.9 นำผลที่ได้จากการวางแผนเผยแพร่สู่การปฏิบัติ โดยการเขียนการรายงาน การเขียนโครงการ การประชาสัมพันธ์ ฯลฯ
6.10 อธิบายบทบาท หน้าที่ของผู้นำสมาชิกที่ดีของชุมชน สังคม
6.11 บอกแนวทางในการดำเนินการเพื่อนำไปสู่การทำแผนชีวิต ครอบครัว ชุมชน สังคม ของผู้นำและผู้ตาม

6.12 เป็นบทบาทของผู้นำ ผู้ตามในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม








บบทดสอบ หลังเรียน

วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

วิชาที่เรียนเทอม 1/2558 กศน.ตำบลโนนห้อม

**ใช้กับพลเรือน เท่านั้น

วิชาเรียน ระดับประถมศึกษา
พต11001 ภาษาอังกฤษ
อช11003 พัฒนาอาชีพให้มีอยู่มีกิน
ทช11003 ศิลปศึกษา
สค11003 การพัฒนาตนเองชุมชนสังคม
ทร02006 โครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้
ทร13006 เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
พว02018 สภาวะโลกร้อน

วิชาเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
พต21001 ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน
อช21003 พัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง
ทช21003 ศิลปศึกษา
สค21003 ศาสนาและหน้าที่พลเมือง
อช22001 การพัฒนาแผนและโครงการอาชีพ
ทช02006 เพศศึกษาสำหรับพ่อแม่กับลูกวัยรุ่น
สค22001 ทรัพยากรของประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วิชาเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
พต31001 ภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม
อช31003 พัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง
สค31003 ศาสนาและหน้าที่พลเมือง
พท33019 สร้างสรรค์ภาษาไทยในบทเพลง
พท33013 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและสร้างมนุษยสัมพันธ์ 2
พท33017 ภาษาร้อยกรอง
อช32007 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (Ms Office)
สค33009 ศาสนาและหน้าที่พลเมือง 3

***สำหรับนักศึกษาที่เทียบโอนให้ติดต่อ อ.ณัฐจักร์ โดยตรง เพราะอาจมีบางวิชาที่ไม่เหมือนการลงทะเบียนเทอมปัจจุบัน

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

การทำเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรอินทรีย์


ให้ผู้เรียนดูวิดิทัศน์และศึกษาความรู้จากชุดให้ความรู้นี้แล้วทำใบงานส่ง



เกษตรอินทรีย์ 
       คือการทำการเกษตรด้วยหลักธรรมชาติ บนพื้นที่การเกษตรที่ไม่มีสารพิษตกค้างและหลีกเลี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมีทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศเพื่อส่งเสริมความอุดสมสมบูรณ์ของดินความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศน์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนสู่สมดุลธรรมชาติโดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์หรือสิ่งที่ได้มาจากการตัดต่อพันธุกรรม ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีแผนการจัดการอย่างเป็นระบบในการผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ให้ได้ผผลิตสูงอุดมด้วยคุณค่าทางอาหารและปลอดสารพิษโดยมีต้นทุนการผลิตต่ำเพื่อคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจพอเพียง แก่มวลมนุษยชาติ และสรรพชีวิต

        ทำไม ? ต้องเกษตรอินทรีย์  
        การใช้ทรัพยากรดินโดยไม่คำนึงถึงผลเสียของ ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในแร่ธาตุและกายภาพของดินทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ในดินนั้นสูญหาย และไร้สมรรถภาพความไมาสมดุลนี้เป็นอันตรายยิ่งกระบวนการนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่อง ผืนดินที่ถูกผลาญไปนั้น ได้สูญเสียความสามารถในการดูดซับแร่ธาตุ ทำให้ผลผลิตมีแร่ธาตุ วิตามิน และพลังชีวิตต่ำเป็นผลให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหารรองในพืช พืชจะอ่อนแอ ขาดภูมิต้านทานโรคและทำให้การคุกคามของแมลง และเชื้อโรคเกิดขึ้นได้ง่ายซึ่งจะนำไปสู่การใช้สารเคมีฆ่าแมลงและเชื้อราเพิ่มขึ้น ดินที่เสื่อมคุณภาพนั้น จะเร่งการเจริญเติบโตของวัชพืชให้แข่งกับพืชเกษตร และนำไปสู่การใช้สารเคมีสังเคราะห์กำจัดวัชพืช ข้อบกพร่องเช่นนี้ก่อให้เกิดวิกฤติในห่วงโซ่อาหาร และระบบการเกษตรของเราซึ่งทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่ง ในโลกปัจจุบันประเทศไทยนำเข้าสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตรเป็นเงินปีละ 4-5 หมื่นล้านบาท เกษตรกรต้องซื้อปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ในการเพาะปลูกทำให้การลงทุนสูง และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องขณะที่ราคาผลผลิตในรอบยี่สิบปี ไม่ได้สูงขึ้นตามสัดส่วนของต้นทุนที่สูงขึ้นนั้นมีผลทำให้เกษตรกรขาดทุน มีหนี้สินล้นพ้นตัวเกษตรอินทรีย์จะเป็นหนทางของการแก้ปัญหาเหล่านั้นได้

        เกษตรอินทรีย์คืออะไร ?
        - ให้ปริมาณและคุณภาพผลผลิตที่ดีกว่า
        - ให้อาหารปลอดสารพิษสำหรับชีวิตที่ดีกว่า
        - ให้ต้นทุนการผลิตที่ต่ำเพื่อเศรษฐกิจที่ดีกว่า
        - ให้คุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตที่ดีกว่า
        - ให้ผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ดีกว่า
        - ให้สิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า

        ผลผลิตพืชอินทรีย์เป็นอย่างไร?
        - มีรูปร่างดีสมส่วน
        - มีสีสวยเป็นปกติ
        - มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ
        - มีโครงสร้างของเนื้อนุ่มกรอบแน่น
        - มีรสชาติดี
        - ไม่มีสารพิษตกค้าง
        - เก็บรักษาได้ทนทาน
        - ให้สารอาหารและพลังชีวิต

        เป็นเกษตรอินทรีย์ได้อย่างไร   
        การเกษตรปัจจุบัน สามารถปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ได้โดยเริ่มต้นศึกษาหาความรู้จากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ถูกกำหนดขึ้นควรเริ่มต้นด้วยความสนใจ และศรัทธาหลักทฤษฎีเพื่อการปฏิบัติ โดยศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติเมื่อเริ่มปฏิบัติตามนี้แล้วก็นับได้ว่าก้าวเข้าสู่การทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยนเมื่อปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องตามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไม่นานก็จะเป็นเกษตรอินทรีย์ได้ ทั้งนี้ช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับประเภทของเกษตรอินทรีย์ที่จะผลิตซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้วข้อสำคัญนั้น อยู่ที่การทำความเข้าใจเกษตรอินทรีย์ให้ถ่องแท้มีความตั้งใจจริง มีความขยันหมั่นเพียร ไม่ท้อถอยต่อปัญหาหรืออุปสรรคใด มีความสุขในการปฏิบัติก็จะบรรลุวัตถุประสงค์และประสบความสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้เพราะเกษตรอิทรีย์เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้จริงเมื่อเกษตรอินทรีย์แล้วสามารถขอรับรองมาตรฐานจากภาครัฐจึงจะนับได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ที่สมบูรณ์อันเป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดิน

       ความเป็นมาของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 
       ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์ (Organic food Production Act-OFPA) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) และมีการแก้ไขในปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996)
ตลาดร่วมกลุ่มประเทศในยุโรป (European Unity : EU.) ได้มีการรวบรวมข้อกำหนดของผลิตผลเกษตรอินทรีย์ไว้ในข้อกำหนดของสภาตลาดร่วมยุโรป (EEC No. 2092/91) และฉบับแก้ไข ข้อกำหนดส่วนใหญ่ให้คำแนะนำในการนำเข้าอาหารอินทรีย์ที่ผลิตจากประเทศอื่น ภายใต้มาตรฐานการผลิต และมาตรการตรวจสอบที่เหมือนกันทุกประการ
       ประเทศญี่ปุ่น รัฐบาลญี่ปุ่น ได้ประกาศใช้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2544 โดยอ้างอิงกฎหมายมาตรฐานเกษตรญี่ปุ่น (Japan Agriculture Standard – JAS) 
       ประเทศไทย ได้มีการกำหนดใช้มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ หลังจากผ่านการปรับปรุงแก้ไขครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2543 โดยคณะทำงานเฉพาะกิจปรับปรุงมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทยและผ่าการเห็นชอบ ของคณะกรรมการบริหารงานวิจัยและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movement – IFOAM) ได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับตรวจสอบรับรองเกษตรอินทรีย์เป็นที่ยอมรับในกลุ่มประเทศในยุโรป สมาคมดินแห่งสหราชอาณาจักร (Soil Association UK) เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญต่อเกษตรอินทรีย์ มีประวัติความเป็นมายาวนาน ได้พัฒนามาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในสหราชอาณาจักร องค์กรเครือข่าย (Pesticide Network Action : PNA) เป็นองค์กรเครือข่ายของสหราชอาณาจักร และประเทศเนเธอแลนด์ ที่กำลังปฏิบัติการเคลื่อนไหว ซึ่งจะทำให้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

       มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทย
       มีประเด็นหลักสำคัญ ดังนี้
       - ที่ดินไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่ำกว่ามาตรฐานกำหนด
       - พื้นที่ปลูกต้องไม่มีสารเคมีสังเคราะห์ตกค้าง
       - ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ในกระบวนการผลิต
       - ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมีสังเคราะห์
       - ไม่ใช้สิ่งที่ได้จากการตัดต่อทางพันธุกรรม
       - ไม่ใช้มูลสัตว์ที่เลี้ยงอย่างผิดมาตรฐาน
       - ปัจจัยการผลิตจากภายนอกต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน
       - กระบวนการผลิตต้องปราศจากสิ่งปนเปื้อนสารเคมีสังเคราะห์
       - ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ และสิ่งแวดล้อม
       - ต้องได้รับการรับรองมารฐานอย่างเป็นทางการ

       ข้อมูลการตลาดเกษตรอินทรีย์
       ตลาดเกษตรอินทรีย์ของโลกในปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 600,000 ล้านบาท โดยตลาดส่วนใหญ่อยู่สหภาพยุโรป 250,000 ล้านบาท สหรัฐอเมริกา 200,000 ล้านบาทและญี่ปุ่น 45,000 ล้านบาท โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 25 ต่อปี ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยทั่วไปจะสูงกว่าสินค้าปกติร้อยละ 25 – 50 อย่างไรก็ตามปริมาณสินค้าเกษตรอินทรีย์รวมทั้งโลกในปัจจุบันมีเพียงร้อยละ 1 ดังนั้นโอกาสและลู่ทางในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ไปขายในตลาดโลกของประเทศไทยยังมีอยู่มาก
สำหรับการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยกรมวิชาการเกษตรร่วมกับบริษัทในเครือนครหลวงและบริษัทในเครือสยามวิวัฒน์ ผลิตข้าวอินทรีย์ในท้องที่จังหวัดพะเยาและเชียงราย เนื้อที่ประมาณ 10,000 ไร่ ได้ผลผลิตรวม 1,200 – 1,500 ตันส่งไปขายยังต่างประเทศภายใต้การควบคุมขององค์กรตรวจสอบคุณภาพของประเทศอิตาลี มีการผลิตกล้วยหอมอินทรีย์ส่งไปประเทศญี่ปุ่นโดยสหกรณ์การเกษตรท่ายางร่วมกับสหกรณ์ผู้บริโภคโตโต้ ประเทศญี่ปุ่น มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 259 รายในเนื้อที่ 1,500 ไร่ ผลผลิตของสมาชิกในโครงการประมาณ 2,000 – 2,500 ตัน/ปี  ปี พ.ศ. 2542 – 2546 กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำโครงการนำร่องการผลิตพืชอินทรีย์เพื่อการส่งออกร่วมกับบริษัทส่งออก จำนวน 6 บริษัทตั้งเป้าหมายการผลิตพืชอินทรีย์ 6 ชนิดเพื่อการส่งออก คือ หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดฝักอ่อน กล้วยไข่ สับปะรด กระเจี๊ยบเขียว และขิง เพื่อส่งไปจำหน่ายยังประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ยุโรป และสหรัฐอเมริกา  สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีการซื้อขายอยู่ในตลาดโลก ปัจจุบันมีมูลค่าประมาณปีละ 5 – 6 แสนล้านบาท ความต้องการของตลาดส่วนใหญ่เติบโตอยู่ในต่างประเทศเช่น
        ประเทศในสหภาพยุโรปมีมูลค่าประมาณ 250,000 ล้านบาทต่อปี
        สหรัฐอเมริกามูลค่าประมาณ 200,000 ล้านบาทต่อปี
        ประเทศญี่ปุ่นมีมูลค่าประมาณ 45,000 ล้านบาทต่อปี
        โดยอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยร้อยละ 25 ต่อปี ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยทั่วไปสูงกว่าสินค้าปกติร้อยละ 25.50 ปริมาณสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีอยู่ในตลาดโลกปัจจุบันมีเพียงร้อยละ 1
ดังนั้นโอกาสและลู่ทางในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยเพื่อส่งออกไปขายในตลาดโลกยังมีอยู่มาก
กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาศาสตร์ ได้จัดทำโครงการนำร่องการผลิตพืชอินทรีย์เพื่อการส่งออกร่วมกับบริษัทผู้ส่งออกของไทย ตั้งเป้าหมายการผลิตพืชอินทรีย์ 6 ชนิดเพื่อการส่งออกคือ หน่อไม้ฝรั่ง, ข้าวโพดฝักอ่อน, กล้วยไข่, สับปะรด, กระเจี๊ยบเขียว และขิงเพื่อส่งไปจำหน่ายยังประเทศสิงคโปร์, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยกำหนดระยะเวลาในการดำเนินโครงการนี้ในปี พ.ศ. 2542 ถึงปี พ.ศ. 2544
        กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ได้จัดงานแสดงสินค้าเกษตรอินทรีย์ จากประเทศไทย ณ ประเทศสิงคโปร์ ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2544 และมีแผนที่จะนำเอาสินค้าเกษตรอินทรีย์คุณภาพดีจากประเทศไทย ออกไปแสดงในงานมหกรรมแสดงสินค้าที่ต่างประเทศจัดขึ้นในหลายประเทศ เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย

        หลักการผลิตพืชอินทรีย์
      1. เลือกพื้นที่ที่ไม่เคยทำการเกษตรเคมีมาไม่น้อยกว่า 3 ปี
       2. เป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างดอนและโล่งแจ้ง
       3. อยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรม
       4. อยู่ห่างจากแปลงที่ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี
       5. ห่างจากถนนหลวงหลัก
       6. มีแหล่งน้ำที่ปลอดสารพิษ

       ขั้นตอนการทำแปลง
      1. เก็บตัวอย่างดิน ดินบนและดินล่างอย่างละ 1 กิโลกรัม นำไปวิเคราะห์พร้อมกัน หาชนิดและปริมาณธาตุอาหารที่อยู่ในดิน
       2. แหล่งน้ำจะต้องเป็นแหล่งน้ำอิสระเก็บตัวอย่างน้ำ 1 ลิตร นำไปวิเคราะห์เพื่อหาสารปนเปื้อนที่ขัดต่อหลักการผลิตพืชอินทรีย์
       3. เมื่อทราบข้อมูลของดินและน้ำแล้วว่าไม่มีพิษต่อการปลูกพืชอินทรีย์ ก็เริ่มทำการวางรูปแบบแปลงผลิตพืชอินทรีย์ การวางแบบแปลงจะต้องทำการขูดร่องล้อมรอบแปลง เพื่อเป็นการดักน้ำหรือป้องกันน้ำที่มีสารปนเปื้อนไหลบ่ามาท่วมแปลงในฤดูฝน ร่องคูรอบแปลงควรกว้าง 2 เมตร ลึก 1 เมตร พร้อมกับทำการปลูกหญ้าแฝกริมร่องโดยรอบทั้งด้านในและด้านนอก รากหญ้าแฝกจะเป็นกำแพงกรองน้ำเสียให้กลายเป็นน้ำดี ซึมเข้าไปในดินที่ปลูกพืชอินทรีย์ ส่วนใบของหญ้าแฝกก็ตัดไปใช้ปรับสภาพดินหรือใช้คลุมแปลงพืชผักอินทรีย์ต่อไป
       4. ในการเตรียมแปลงในครั้งแรกอนุโลมให้ใช้รถไถเดินตามได้ แต่ในครั้งต่อไปให้ใช้คนขุดพรวนดิน ถ้าใช้รถไถบ่อย ๆ แล้วมลพิษจากเครื่องยนต์จะตกค้างอยู่ในดิน และจะปฏิบัติกิริยาที่เป็นพิษต่อพืชจึงต้องระวัง ห้ามสูบบุหรี่ในแปลงพืชอินทรีย์ ในการเตรียมแปลงจะต้องทำการไถพรวนใหื้นที่ในแปลงโล่งแจ้งพร้อมที่จะวางรูปแบบแปลงในการวางรูปแบบแปลงจะต้องวางไปตามตะวันเนื่องจากพืชใช้แสงแดดปรุงอาหารและแสงแดดจะช่วยฆ่าเชื้อโรค แปลงที่จะปลูกพืชผักนั้นความกว้างไม่ควรเกิน 1 เมตร ส่วนความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ ส่วนพื้นที่ที่ยังทำแปลงปลูกพืชผักไม่ทันก็ให้นำเอาพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียวหรือถั่วมะแฮะ มาหว่านคลุมดินเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสดเป็นการปรับปรุงดินไปพร้อมกับเป็นการป้องกันแมลงที่จะวางไข้ในพงหญ้าด้วย
       5. เมื่อเตรียมแปลงแล้วก็หันมาทำการปลูกพืชสมุนไพรไล่แมลงก่อนที่จะปลูกพืชหลักคือพืชผักต่าง ๆ (เสริมกับการป้องกัน) ทางน้ำ ทางอากาศ และทางพื้นดิน พืชสมุนไพรที่กับแมลงรอบนอกเช่น สะเดา ชะอม ตะไคร้หอม ข่า ปลูกห่างกัน 2 เมตร โดยรอบพื้นที่ ส่วนต้นด้านในกันแมลงในระดับต่ำ โดยปลูกพืชสมุนไพรเตี้ยลงมาเช่น ดาวเรือง กะเพรา โหระพา ตะไคร้หอม พริกต่าง ๆ ปลูกห่างกัน 1 เมตร และที่จะลืมไม่ได้คือจะต้องปลูกตะไคร้หอมทุก ๆ 3 เมตร แซมโดยรอบพื้นที่ด้านในด้วย
       6. หลังจากปลูกพืชสมุนไพรเพื่อกันแมลงแล้วก็ทำการยกแปลงเพื่อปลูกพืชผัก แต่ก่อนที่จะปลูกจะต้องทำการปรับสภาพดินในแปลงปลูก โดยการใส่ปุ๋ยคอก (ขี้วัว) การใส่ปุ๋ยคอกนั้นจะใส่มากน้อยขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินที่จะทำแปลงปลูกพืชอินทรีย์ (ขี้วัวต้องเป็นวัวที่กินพืชตามธรรมชาติ) ทำการพรวนคลุกกันให้ทั่วทิ้งไว้ 7 วัน ก่อนปลูก การปลูกให้ปลูกพืชสมุนไพรกันแมลงที่ขอบแปลงก่อน เช่น กุ้ยฉ่าย ขึ้นฉ่าย และระหว่างแปลงก็ทำการปลูกกะเพรา โหระพา พริกต่าง ๆ เพื่อป้องกันแมลงก่อนที่จะทำการปลูกพืชผัก พอครบกำหนด 7 วันพรวนดินอีกครั้งแล้วนำเมล็ดพันธุ์พืชมาหว่าน แต่เมล็ดพันธุ์พืชส่วนใหญ่เป็นเมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมี จึงต้องนำเอาเมล็ดพันธุ์ผักมาล้าง โดยการนำน้ำที่มีความร้อน 50 – 55 องศาเซลเซียส วัดได้ด้วยความรู้สึกของตัวเราเองคือเอานิ้วจุ่มลงไปถ้าทนความร้อนได้ก็ให้นำเมล็ดพันธุ์พืชแช่ลงไป นาน 30 นาทีแล้วจึงนำขึ้นมาคลุกกับกากสะเดา หรือสะเดาผงแล้วนำไปหว่านลงแปลงที่เตรียมไว้คลุมฟางและรดน้ำ ก่อนรดน้ำทุกวันควรขยำขยี้ใบตะไคร้หอมแล้วใช้ไม้เล็ก ๆ ตีใบกะเพราะ โหระพา ข่า ฯลฯ เพื่อให้เกิดกลิ่นจากพืชสมุนไพรออกไล่แมลง ควรพ่นสารสะเดาอย่างต่อเนื่องทุก ๆ 3 – 7 วันกันก่อนแก้ ถ้าปล่อยให้โรคแมลงมาแล้วจะแก้ไขไม่ทันเพราะว่าไม่ได้ใช้สารเคมี ควรดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดพอถึงอายุเก็บเกี่ยวควรเก็บเกี่ยวผลผลิต ถ้าทิ้งไว้จะสิ้นเปลืองสารสมุนไพรในการปลูกพืชอินทรีย์ในระยะแรกผลผลิตจะได้น้อยกว่าพืชเคมีประมาณ 30 – 40% แต่ราคานั้นมากกว่าพืชเคมี 20 – 50% ผลดีคือทำให้สุขภาพของผู้ผลิตดีขึ้นไม่ต้องเสียค่ายา (รักษาคน) สิ่งแวดล้อมก็ดีด้วย รายได้ก็เพิ่มกว่าพืชเคมีหากทำอย่างยั่งยืน อย่างต่อเนื่องผลผลิตจะไม่ต่างกับการปลูกพืชเคมีเลย
       7. หลักจากที่ทำเก็บเกี่ยวพืชแรกไปแล้วไม่ควรปลูกพืชชนิดเดียวกับพืชแรก เช่น ในแปลงที่ 1 ปลูกผักกาดเขียวปลีได้ผลผลิตดี หลังเก็บผลผลิตไปแล้วปลูกซ้ำอีกจะไม่ได้อะไรเลย ควรปลูกสลับชนิดกัน เช่น ปลูกผักกาดเขียวปลี แล้วตามด้วยผักบุ้งจีนเก็บผักบุ้งจีนแล้วตามด้วยผักกาดหัว เก็บผักกาดหัวแล้วตามด้วยผักปวยเล้ง เก็บปวยเล้งตามด้วยตั้งโอ๋ ทำเช่นนี้ทุก ๆ แปลงที่ปลูกแล้วจะได้ผลผลิตดี
       8. การปลูกพืชอินทรีย์ ปลูกได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน แต่จะต้องปลูกพืชสมุนไพรก่อนและต่อเนื่อง แล้วต้องปลูกพืชสลับลงไปในแปลงพืชผักเสมอ ต้องทำให้พืชสมุนไพรต่าง ๆ เกิดการช้ำจะได้มีกลิ่น ไม่ใช่ปลูกเอาไว้เฉย ๆ การปลูกพืชแนวตั้งคือพืชที่ขึ้นค้าง เช่น ถั่วฝักยาว มะระจีน ฯลฯ และแนวนอนคือ พืชผักต่าง ๆ เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ปวยเล้ง ตั้งโอ๋ ฯลฯ ควรทำเช่นนี้ทุกครั้งที่ปลูกพืชในแปลงเกษตรอินทรีย์

       9. การปลูกพืชสมุนไพรในแปลงเพื่อไล่แมลงยังสามารถนำเอาพืชสมุนไพรเหล่านี้ไปขายเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งด้วย หลังจากทำการเก็บเกี่ยวพืชผักแล้วควรรีบทำความสะอาดแปลงไม่ควรทิ้งเศษพืชที่มีโรคแมลงไว้ในแปลง ให้รีบนำไปทำลายนอกแปลงส่วนเศษพืชที่ไม่มีโรคแมลงก็ให้สับลงแปลงเป็นปุ๋ยต่อไป