วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2558

ใบความรู้มัลติมีเดีย
หน่วยการเรียนรู้ที่ เรื่อง  ไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้า

คำแนะนำ  นักศึกษาสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองจากใบความรู้มัลติมีเดียที่ครูผู้สอนกำหนด  หรือศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารประกอบการสอน  หนังสือประกอบการเรียนการสอนที่สถานศึกษากำหนด  โดยมีครูผู้สอนเป็นที่ปรึกษาในการเรียนรู้ตามแผนการสอน  (เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและ Ctrl+คลิกที่ภาพหรือลิงค์ เพื่อรับชมวีดีโอ)





ใบความรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ เรื่อง  พลังงานไฟฟ้า

ไฟฟ้าคืออะไร
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่รอบๆ  ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้าน อุปกรณ์สำนักงาน ตลอดจนเครื่องมือ เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม ล้วนแต่ต้องอาศัยพลังงานจากไฟฟ้าทั้งสิ้น ดังนั้น เราควรมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับไฟฟ้าให้มากยิ่งขึ้น
"ไฟฟ้าเกิดขึ้นได้อย่างไร"
วัตถุ ประกอบด้วยอะตอมจำนวนมาก แล้ว "อะตอมคืออะไร" คำถามนี้ต้องเกิดขึ้นแน่นอน ดังนั้นจะขออธิบายสั้นๆ ว่า   อะตอมเป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กมากๆ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณหนึ่งในร้อยล้านเซนติเมตร อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสและอิเล็กตรอน โดยอิเล็กตรอนโคจรรอบนิวเคลียส จำนวนอิเล็กตรอนของอะตอมแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน จึงทำให้คุณสมบัติของอะตอมนั้นๆ แตกต่างกันไปด้วย
ภายในนิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน จำนวนโปรตอนจะเท่ากับจำนวนของอิเล็กตรอน ทั้งอิเล็กตรอนและโปรตอนเป็นอนุภาคที่มีไฟฟ้า อิเล็กตรอนมีไฟฟ้าลบและปริมาณไฟฟ้าลบของอิเล็กตรอนของอะตอมใดๆ จะมีขนาดเท่ากันหมด ส่วนโปรตอนมีไฟฟ้าบวกและปริมาณไฟฟ้าบวกของโปรตอน 1 ตัวจะเท่ากับปริมาณไฟฟ้าลบของอิเล็กตรอน 1 ตัว
อิเล็กตรอนหมุนรอบนิวเคลียสของอะตอมด้วยวงจรที่แน่นอน เป็นเพราะมีแรงดึงดูดระหว่างไฟฟ้าบวกของโปรตอนและไฟฟ้าลบของอิเล็กตรอน ด้วยแรงดึงดูดนี้เองที่ทำให้อิเล็กตรอนติดอยู่กับอะตอม อิเล็กตรอนจึงหลุดไปจากอะตอมไม่ได้ แต่อิเล็กตรอนตัวที่อยู่วงโคจรนอกสุดซึ่งห่างจากนิวเคลียสมากมีแรงดึงดูดน้อย เมื่อมีอิทธิพลจากภายนอกเข้ามารบกวน อิเล็กตรอนจึงหลุดพ้นจากวงโคจรนั้นได้ และสามารถเคลื่อนไหวอย่างอิสระระหว่างอะตอมได้ ซึ่งทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ทางไฟฟ้า วัตถุใดที่มีอิเล็กตรอนอิสระจำนวนมาก จะมีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้า แต่ถ้ามีจำนวนน้อยจะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้า 
วัตถุทุกชนิดประกอบด้วยอะตอมที่มีไฟฟ้า ดังนั้น วัตถุทุกชนิดควรมีไฟฟ้าด้วย ภายในอะตอมของวัตถุนั้นมีปริมาณไฟฟ้าบวกและลบเท่ากัน แรงกระทำจากไฟฟ้าบวกและไฟฟ้าลบจึงหักล้างกันพอดี สภาพเช่นนี้เรียกว่า สภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า (ทั้งไฟฟ้าบวกและไฟฟ้าลบยังคงมีอยู่ในจำนวนที่เท่ากัน)

เหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าวัตถุมีไฟฟ้า คือ การเกิดไฟฟ้าสถิตย์ เช่น เมื่อเรานำวัตถุสองชนิดมาถูกัน จะเกิดไฟฟ้าสถิตย์ขึ้น อธิบายได้ว่า อิเล็กตรอนอิสระที่อยู่ภายในวัตถุชนิดหนึ่งเคลื่อนไหวรุนแรงมากขึ้นจนสามารถหลุดพ้นจากแรงยึดเหนี่ยวของนิวเคลียสของอะตอมและกระโดดไปอยู่ในวัตถุอีกชนิดหนึ่ง อิเล็กตรอนในวัตถุชนิดแรกมีจำนวนลดลง จึงแสดงความเป็นไฟฟ้าบวกออกมา ในขณะเดียวกันวัตถุที่ได้รับอิเล็กตรอนอิสระจะทำให้มีไฟฟ้าลบมากกว่า จึงแสดงความเป็นไฟฟ้าลบออกมา  โดยทั่วไป การที่วัตถุเกิดไฟฟ้าขึ้นเรียกว่า วัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้า ประจุไฟฟ้ามีทั้งประจุบวกและประจุลบ ประจุไฟฟ้าแสดงถึงปริมาณไฟฟ้า มีหน่วยเป็น คูลอมบ์ (Coulomb)
กระแสไฟฟ้าคืออะไร เมื่อได้ทราบไปแล้วว่า ไฟฟ้าเกิดขึ้นได้อย่างไร เรามาพิจารณากันต่อไปว่า "กระแสไฟฟ้าคืออะไร"
จากปรากฏการณ์ทางไฟฟ้าต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะพบว่ามีสาเหตุมาจากการไหลของไฟฟ้า ไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ได้จะมีคุณสมบัติตรงข้ามกับไฟฟ้าสถิตย์ เรียกว่า ไฟฟ้าเคลื่อนไหว
สายไฟทั่วไปทำด้วยลวดตัวนำ คือ โลหะทองแดงและอะลูมิเนียม อะตอมของโลหะมีอิเล็กตรอนอิสระ ไม่ยึดแน่นกับอะตอม จึงเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ถ้ามีประจุลบเพิ่มขึ้นในสายไฟ อิเล็กตรอนอิสระ 1 ตัวจะถูกดึงเข้าหาประจุไฟฟ้าบวก แล้วรวมตัวกับประจุไฟฟ้าบวกเพื่อเป็นกลาง ดังนั้น อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่ เมื่อเกิดสภาพขาดอิเล็กตรอนจึงจ่ายประจุไฟฟ้าลบออกไปแทนที่ ทำให้เกิดการไหลของอิเล็กตรอนในสายไฟจนกว่าประจุไฟฟ้าบวกจะถูกทำให้เป็นกลางหมด การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนหรือการไหลของอิเล็กตรอนในสายไฟนี้เรียกว่า กระแสไฟฟ้า (Electric Current)
สำหรับในตัวนำที่เป็นของแข็ง กระแสไฟฟ้าเกิดจากการไหลของอิเล็กตรอน โดยอิเล็กตรอนจะไหลจากขั้วลบไปหาขั้วบวกเสมอ ในตัวนำที่เป็นของเหลวและก๊าซ กระแสไฟฟ้าเกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนกับโปรตอน โดยจะเคลื่อนที่เข้าหาขั้วไฟฟ้าที่มีประจุตรงข้าม  ถ้าจะเรียกว่า กระแสไฟฟ้าคือการไหลของอิเล็กตรอนก็ได้ แต่ทิศทางของกระแสไฟฟ้าจะตรงข้ามกับการไหลของอิเล็กตรอน
ขนาดของกระแสไฟฟ้าที่ไหลในสายไฟฟ้านั้น กำหนดได้จากปริมาณของประจุไฟฟ้าที่ไหลผ่านจุดใดๆ ในเส้นลวดใน 1 วินาที มีหน่วยเป็น แอมแปร์ (Ampere ซึ่งแทนด้วย A) 



แรงดันไฟฟ้าคืออะไร
กระแสไฟฟ้าเกิดจากการที่มีอิเล็กตรอนไหลในสายไฟ ซึ่งการที่อิเล็กตรอนไหลหรือเคลื่อนที่ได้นั้นจะต้องมีแรงมากระทำต่ออิเล็กตรอนทำให้เกิดกระแสไหล แรงดังกล่าวนี้เรียกว่า แรงดันไฟฟ้า (Voltage) 
ศักย์ไฟฟ้า เป็นอีกคำหนึ่งที่คล้ายกับแรงดันไฟฟ้า จะหมายถึง ระดับไฟฟ้า เช่น ลูกกลมที่ 1 มีประจุไฟฟ้าบวกจะมีศักย์ไฟฟ้าสูง ส่วนลูกกลมที่ 2 มีประจุไฟฟ้าลบจะมีศักย์ไฟฟ้าต่ำ ดังนั้น ลูกกลมที่ 1 และ 2 จึงมีความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้า เรียกว่า ความต่างศักย์ไฟฟ้า 
แรงขับเคลื่อนทางไฟฟ้า หมายถึง แรงที่สร้างให้เกิดแรงดันไฟฟ้าซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระตลอดเวลา กระแสไฟฟ้าจึงไหลตลอดเวลา แรงเคลื่อนไฟฟ้านี้อาจเกิดจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า, แบตเตอรี่, ถ่านไฟฉาย และเซลล์เชื้อเพลิง ฯลฯ
หน่วยของแรงดันไฟฟ้า, ความต่างศักย์ไฟฟ้า หรือแรงขับเคลื่อนทางไฟฟ้า มีหน่วยเดียวกัน คือ โวลต์ (Voltage ซึ่งแทนด้วย V) แรงดันไฟฟ้า 1 โวลต์ คือ แรงดันที่ทำให้กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ไหลผ่านเข้าไปในความต้านทาน 1 โอห์ม
ความต้านทานไฟฟ้าคืออะไร
เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลย่อมหมายถึงมีการเคลื่อนไหวของอิเล็กตรอนในสายไฟ และอิเล็กตรอนจะวิ่งชนกับอะตอมของเส้นลวด เกิดการต้านทานการไหลของอิเล็กตรอนขึ้น กระแสไฟฟ้าที่ไหลในสายไฟมีคุณสมบัติการไหลต่างกันเพราะมี ความต้านทานไฟฟ้า (Resistance) ความต้านทานไฟฟ้าเป็นสมบัติเฉพาะของวัตถุในการที่จะขวางหรือต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้าที่จะไหลผ่านวัตถุนั้นๆ ไป 
หน่วยของความต้านทานไฟฟ้าเป็น โอห์ม (Ohm แทนด้วยสัญลักษณ์ Ω) ความต้านทาน 1 โอห์ม คือ ความต้านทานของเส้นลวดที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ 1 แอมแปร์ เมื่อใช้แรงดันไฟฟ้า 1 โวลต์
วัตถุแต่ละชนิดยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้แตกต่างกัน วัตถุที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ง่าย เรียกว่า ตัวนำไฟฟ้า (Conductor) เช่น ทองแดง, เงิน, อะลูมิเนียม, สารละลายของกรดเกลือ, กรดกำมะถัน และน้ำเกลือ ฯลฯ สำหรับวัตถุที่ไม่ยอมให้กระแสไหลผ่านได้หรือไหลผ่านได้ยาก เรียกว่า ฉนวนไฟฟ้า (Insulator) เช่น พลาสติก, ยาง, แก้ว และกระดาษแห้ง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีวัตถุอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติระหว่างตัวนำไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า เรียกว่า สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) เป็นวัตถุที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้และสามารถควบคุมการไหลผ่านได้ เช่น คาร์บอน, ซิลิคอน และเจอมาเนียม ฯลฯ
            แหล่งที่มา :  http://www.neutron.rmutphysics.com/science-news/index.php?option=com_content&task=view&id=2232&Itemid=0
ความสำคัญของไฟฟ้า
ไฟฟ้าเป็นพลังงานชนิดหนึ่ง ที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง นอกจากจะให้แสงสว่างเวลาค่ำคืนแล้ว ยังให้ความร้อนในการหุงต้มและรีดผ้า ใช้ในการหมุนมอเตอร์เช่น เครื่องดูดฝุ่น เครื่องปั่น และเครื่องทำความเย็น ไฟฟ้าจึงมีความสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคนเรา
การเกิดไฟฟ้า ไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
(1) ไฟฟ้าสถิต คือไฟฟ้าที่เกิดจากการขัดถูกันจากวัตถุ  2  ชนิด จนเกิดไฟฟ้าขึ้นชั่วคราว
(2) ไฟฟ้ากระแส คือไฟฟ้าจากการหมุนของขดลวดตัดกับสนามแม่เหล็กถาวรเป็นเวลานานจนเกิดเป็นกระแสไฟฟ้าขึ้น เราเรียกไฟฟ้าแบบนี้ว่า ไฟฟ้ากระแสสลับ
มีไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่งที่เกิดจากเซลล์ไฟฟ้า หรือเรียกอีกอย่างว่าแบตเตอรี่ ซึ่งเกิดจากการทำปฏิกิริยาของสารเคมีกับโลหะจนเกิดไฟฟ้ขึ้น เซลล์ไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่งคือ เซลล์ไฟฟ้าแห้งทำจากสารเคมีหลายชนิดบรรจุไว้ในก้อนเมื่อใช้งานจะเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น เช่นถ่านไฟฉาย เราเรียกไฟฟ้าชนิดนี้ว่าไฟฟ้ากระแสตรง
แหล่งกำเนิดไฟฟ้าเกิดจาก
1. เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี เช่น ไฟฟ้าจากถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่รถยนตร์ภายในมีสารเคมีบรรจุอยุ่ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับโลหะจนเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น
2. เกิดจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือไดนาโม โดยอาศัยหลักการทำงานของขดลวดทองแดงเคลื่อนที่ตัดผ่านสนามแม่เหล็ก หรือแม่เหล็กเคลื่อนที่ในทองแดง
ที่มาของไฟฟ้ที่พวกเราใช้กัน
ที่มาของไฟฟ้ามาจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ ทำหน้ำที่ผลิดกระแสไฟฟ้า ส่วนใหญ่ใช้พลังจากแรงดันไอน้ำ และแรงดันน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะถูกส่งมาตามสายไฟฟ้าที่เป็นโลหะ เข้าสู่บ้านเรือนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ส่วนประกอบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าคือไดนาโมที่ประกอบด้วยเหล็กทองแดง และแท่งแม่เหล็กและมีการเคลื่อนที่ในแนวตัดกันพลังงานที่ใช้ในการหมุนไดนาโมให้อุปกรภายในเคลื่อนที่ได้ คือแรงดันไอน้ำและแรงดันน้ำ
วงจรไฟฟ้า
คือทางเดินของกระแสไฟฟ้า ที่เคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดไปยังอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆและเครื่อนที่กลับมายังแหล่งกำเนิดไฟฟ้าวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายประกอบด้วย ถ่านไฟฉาย สายไฟและหลอดไฟฟ้าวงจรไฟฟ้ามี2ชนิดคือ
1. วงจรปิด หมายถึงวงจรไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ครบวงจร ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานได้เรียกว่า เปิดไฟ
2. วงจรเปิดหมายถึงวงจรไฟฟ้าที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าเนื่องจากต่อไฟฟ้าไม่ครบวงจรเรียกว่าปิดไฟ
การต่อวงจรไฟฟ้ากระแสตรงจะต่อสายไฟจากถ่านไฟฉายหรือแบตเตออรี่แห้งจากขั้วใดขั้วหนึ่งไปยังหลอดไฟและต่อกลับมาที่ถ่านไฟฉายอีกขั้วหนึ่งเพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลจากถ่านไปผ่านสายไฟและหลอดไฟจนครบวงจรเรียกว่า วงจรไฟฟ้าการต่อวงจรไฟฟ้ากระแสสลับจะต่อแบบเดียวกับวงจรไฟฟ้ากระแสตรงที่ต่างกันคือต้องต่อสายผ่านอุปกรอื่นๆเช่นสวิตช์หรือบาลาสเพื่อตัดต่อวงจรปรับไฟให้เหมาะสม
ไฟฟ้าลัดวงจร
เกิดขึ้นเพราะความผิดปกติของวงจรไฟฟ้าการต่อชนวนทั่วไปจะต้องมีชนวนหุ้มสายไฟหากไฟรั่วหรือสัมผัสกันจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรขึ้นโดยกระแสไฟจะไม่ไหลผ่านหลอด แต่ไหลสุ่แหล่งกำเนิดไฟฟ้าหรือเซลล์ไฟฟ้าก่อนทำให้หลอดไฟไม่ติด และทำให้สายไฟร้อนขึ้นจนอาจเกิดไฟไหม้ได้หรือเรียกกันว่า ไฟฟ้าช็อต
วัตถุที่ยอมให้ไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่าน
วัตถุที่ยอมให้ไฟฟ้าผ่านได้เรียกกันว่าตัวนำไฟฟ้า เช่นทองแดงเงินเหล็กสังกะสีและอลูมิเนียมและวัตถุที่ไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านไม่ได้เรียกว่า ฉนวนไฟฟ้า เช่น ผ้า พลาสติก ยาง ไม้ กระดาษ กระเบื้ง

แหล่งที่มา : https://wiki.stjohn.ac.th/groups/poly_basiscourse/wiki/da6a1/


แหล่งกำเนิดไฟฟ้า แหล่งกำเนิดไฟฟ้า คือ อุปกรณ์ที่สามารถจ่ายพลังงานให้แก่ประจุไฟฟ้าที่เคลี่ยนที่ต่อกับแหล่งกำเนิดนั้น ซึ่งนิยมบอกแรงเคลื่อนที่ไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้า(Electric Current) คือ ประจุไฟฟ้าที่เคลื่อนที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระจากศักย์ไฟฟ้าสูงไปหาศักย์ไฟฟ้าต่ำ
แรงเคลื่อนไฟฟ้า(Electromotive force or emf) หมายถึง พลังงานไฟฟ้าต่อหนึ่งหน่วยประจุที่แหล่งกำเนิดไฟฟ้าสามารถจ่ายให้แก่ประจุไฟฟ้ามีหน่วยเป็น"จูล" ต่อ      "คูลอมบ์"  หรือ โวลต์  
จากความหมายของแรงเคลื่อนไฟฟ้า ถ้าให้ถ่านไฟฉาย1ก้อน (ที่เขียนว่า emf=1.5V)ต่อกับวงจรไฟฟ้าที่ทีประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ในตัวนำ 1 คูลอมบ์พลังงานไฟฟ้าที่จะใช้มี 1.5จูล
1. เซลล์ไฟฟ้าเคมี(Electrochemical Cell) หลักการ เปลี่ยนพลังงานเคมีเป็นพลังงานไฟฟ้า ประกอยด้วยขั้วไฟฟ้าบวกและลบปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ทำให้เกิดความต่างศักย์ระหว่างขั้วเซลล์มี 2 ประเภท
1.1  เซลล์ปฐมภูมิ เป็นเซลล์ที่สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ทันทีและเมื่อใช้จนไม่มีกระแสไฟฟ้าในวงจรก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก เช่น ถ่านไฟฉาย
1.2 เซลล์ทุติยภูมิ เป็นเซลล์ที่เมื่อใช้ไประยะหนึ่งสามารถทำให้ความต่างศักย์ระหว่างขั้งเซลล์เพิ่มขึ้นดังเดิม โดยการอัดประจุไฟ(Charge)เช่น แบตเตอรี่รถยนตร์
2. เครื่องกำเนิดไฟฟ้า(Generator) หลักการ เปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยการเหนี่ยวนำแม่เหล็ก เช่น "ไดนาโม" จะทำงานเมื่อทำให้แกนของไดนาโมหมุนจะเกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ขั้วไดนาโม
3. คู่ควบความร้อน(Thermocouple)  หลักการ ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างจุกเชื่อมต่อโลหะ 2 ชนิดทำให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างโลหะทั้งสอง ประกอบด้วยโลหะ2ชนิดที่โดยโลหะหนึ่งพร้อมที่จะให้อิเล็กตรอนอิสระมากกว่าอีกโลหะหนึ่ง
4. เซลล์สุริยะ(Solar Cell) หลักการ เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า ประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำ2ชั้นประกบกันและมีขั้วต่างกัน เมื่อแสงอาทิตย์กระทบกับแผ่นเหล็กจะทำให้เกิดความต่างศักย์ระหว่างแผ่นบนและแผ่นล่าง เซลล์สุริยะ1เซลล์ให้กระแสไฟฟ้า 25-30mA/1cm2 ให้แรงเคลื่อนไฟฟ้า 0.5 โวลต์
5. คลื่นไฟฟ้า
6. ถ่านหิน หลักการ การต้มไอน้ำ
7. แหล่งกำเนิดไฟฟ้าตามธรรมชาติ 

ใบงานที่1



แบบทดสอบหลังเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น